เชื่อไหมว่าในแต่ละปี มลพิษทางอากาศฆาตชีวิตผู้คนมากถึง 6.5 ล้านคนต่อปี (ที่มา: International Energy Agency) หนึ่งในวิธีที่แก้ไขคือการปลูกต้นไม้ให้มาก เนื่องจากต้นไม้สามารถลดมลพิษในอากาศ แต่นับวันที่ดินยิ่งแพงขึ้น และมักถูกนำไปสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ทำธุรกิจ นั่นก็หมายความว่าสภาพอากาศนั้นก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก
Green City Solutions บริษัทสตาร์ทอัพจากเยอรมัน ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหานี้ด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่รวมชีววิทยาและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet of Things) เข้าด้วยกัน และสร้างสิ่งที่ชื่อว่า City Tree ซึ่งจะมาแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเหล่านี้
CityTree เป็นตะไคร่น้ำที่ถูกเพาะขึ้นมาอย่างหนาแน่นบนโครงสูง 4 เมตร และยาว 3 เมตร ที่ดูกลมกลืนไปกลับสภาพแวดล้อมเหมือนกับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนึงเลย Citytree หนึ่งชุดสามารถดูดมลพิษให้อากาศได้เทียบเท่ากับต้นไม้จริงถึง 275 ต้น โดยจะช่วยกรองฝุ่นในอากาศ ดูดซับไนโตรเจนออกไซด์ และดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 240 ตันต่อปี นอกจากช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมแล้ว CityTree ยังถูกนำไปใช้เป็นป้ายโฆษณาต่างๆ อีกด้วย
CityTree จะทำงานโดยอัตโนมัติ มีทั้งแผ่นโซลาร์เซลล์ในตัวเพื่อจ่ายไฟเข้าไปในตัวเครื่องด้วยตัวเอง ระบบจัดเก็บน้ำฝนเพื่อนำมาใช้งานโดยอัตโนมัติ และระบบวัดค่าความชื้นของดิน อุณหภูมิ และคุณภาพของน้ำ โดยทั้งหมดนี้แทบไม่ต้องมีการซ่อมบำรุงเลย
ในตอนนี้ CityTree ได้ถูกนำไปใช้จริงแล้ว 20 ชุด ในเมือง ออสโล ปารีส บรัสเซลส์ และฮ่องกง ราคาต่อหน่วยอยู่ที่ประมาณ 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง แต่ก็คุ้มค่ากับการพัฒนาชีวิตของคน และสิ่งแวดล้อม อย่างมาก
แล้วท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่านวัตกรรมนี้อยู่ไหน ในหมวดหมู่ของนวัตกรรมทั้ง 15 ชนิด (15 Types of Innovation)?
นวัตกรรมนี้ถือว่าจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ Sustainable Innovation หรือ นวัตกรรมยั่งยืน เช่นเดียวกับข่าวก่อนหน้านี้ที่เรานำเสนอไปครับ ทุกท่านคงสังเกตุเห็นว่าในช่วงนี้ หลายๆ บริษัทได้ออกสินค้าหรือบริการที่รักโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทน หรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เหตุผลก็คือสภาพแวดล้อมที่กำลังแย่ลง ซึ่งจะนำไปสู่อุทกภัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษกิจโดยรวมทั้งหมด โดยจากการสำรวจของธนาคารโลกปีที่แล้ว เศรษฐกิจไทยได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยสูงถึง 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งนี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าธุรกิจต่างๆ ควรหันกลับมามองในเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
ที่มา Green City Solution, Word Bank, International Energy Emergency
By Bangkok Innovation House Team